วัดป่าเลไลยก์

ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

        วัดป่าเลไลยก์ เป็นวัดร้างที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชาวบ้านเรียกว่า "วัดผ่าอก" ซึ่งเดิมมีพระพุทธรูป
ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ภายในมณฑป ได้ถูกคนลักลอบเจาะอกพระจนทะลุ จึงได้เรียกว่า "วัดผ่าอก" ในปี พ.ศ.2517
พระสงฆ์วัดกาญจนบุรีเก่าจึงได้นำชาวบ้านมาร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ขึ้นแทนเพื่อให้สอดคล้องกับเสภา
เรื่อง "ขุนช้าง-ขุนแผน" ตั้งอยู่ห่างจากวัดขุนแผนไปทางทิศเหนือ ประมาณ 500 เมตร
        โบราณสถานบริเวณวัดป่าเลไลยก์ประกอบด้วย
    1. มณฑป รูปสี่เหลี่ยม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในพบพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งที่สร้างขึ้นในภายหลัง
    2. วิหาร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่อทึบ มีประตูเข้าด้านทิศตะวันออก 2 ประตู มีบันไดทางขึ้นทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ หลังคาถูกสร้างขึ้นใหม่
    3. เจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐสอดิน ฉาปปูน ส่วนยอดทรุดตัวพังทลาย จำนวน 2 องค์
อยู่ด้านทิศตะวันตก และนอกกำแพงแก้วด้านทิศเหนือ โบราณวัตถุที่พบ มีทั้งภาชนะดินเผา เครื่องสังคโลก เครื่องถ้วยจีน
เครื่องถ้วยเวียดนาม เหล็กเข้าไม้ และกระเบื้องมุงหลังคา