เกี่ยวกับ อบต.
ประวัติความเป็นมา สภาตำบลลาดหญ้าได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รายชื่อสภาตำบลที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยที่มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 ที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ.2537) เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ซึ่งจะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงประกาศให้สภาตำบลลาดหญ้า ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 |
วิสัยทัศน์และพันธกิจ วิสัยทัศน์ในการพัฒนา เมืองประวัติศาสตร์ งามล้ำวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนเข้มแข็ง มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า 1. จัดให้มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน 3. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเมืองอย่างยั่งยืน 4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการรวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน 5. ส่งเสริมการศึกษา 6. บำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยว
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า 1. มีถนนและท่อระบายน้ำที่ได้มาตรฐาน 2. จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะอย่างเพียงพอและทั่วถึง 3. มีการส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียง 4. ให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหาร 7. มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องและจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง 8. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
|
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า ตั้งอยู่ที่ 999 หมู่ที่ 4 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร โดยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี กำหนดให้ตำบลลาดหญ้ามีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี โดยแนวเขตเริ่มต้นจากสะพานข้ามลำตะเพินบนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3199 สายลาดหญ้า-น้ำตกเอราวัณ พิกัด เอ็ม อาร์ 417627 ตามลำตะเพินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงบริเวณปากลำห้วยพุขามซึ่งไหลลงลำตะเพิน ตามลำห้วยพุขามไปทางทิศเหนือจดเขตติดต่อกับบ้านหินดาด หมู่ที่ 7 ตำบลวังด้ง พิกัด เอ็ม อาร์ 403675 แล้วขึ้นจากแนวลำห้วยพุขามข้ามถนนลูกรัง ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านหนองกุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ตำบลแก่งเสี้ยน และตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี โดยแนวเขตเริ่มต้นจากสันเขาแหลม บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 424710 แล้วลงจากสันเขาแหลมไปทางทิศใต้ผ่านทุ่งนาและไร่ไปจดกับสันเขาล้านที่บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 477687 จากสันเขาล้านผ่านทุ่งนาและไร่ไปจดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3086 สายลาดหญ้า-บ่อพลอย บริเวณกิโลเมตร ที่ 7 000 เมตร แล้วตามทางหลวงแผ่นดินไปสิ้นสุดที่ บริเวณข้างโรงพยาบาลค่ายกาญจนบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 1 200 เมตร รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี โดยแนวเขตเริ่มต้นบนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3086 สายลาดหญ้า-บ่อพลอย บริเวณกิโลเมตรที่ 1 200 เมตร ข้างโรงพยาบาลค่ายกาญจนบุรี แล้วลงจากทางหลวงแผ่นดินผ่านทุ่งนาไปจดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี- ลาดหญ้า ที่บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 29 บริเวณกิโลเมตรที่ 14 925 เมตร ลงจากทางหลวงแผ่นดินไปตามลำธารสาธารณะแล้วข้ามถนนลูกรังสายบ้านหนองบัว-บ้านลาดหญ้า ไปจดแม่น้ำแควใหญ่ไปทางทิศเหนือถึงบริเวณปากลำห้วยพุเลียบซึ่งไหลลงแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 450567 ตามลำห้วยพุเลียบไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี-ทองผาภูมิ ตรงทางแยกเข้าบ้านเก่า แล้วตามทางหลวงหมายเลข 3229 สายกาญจนบุรี-บ้านเก่า ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 18 550 เมตร เขตติดต่อกับบ้านหลังเขา หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จึงลงจากทางหลวงตัดผ่านทุ่งนาและไร่ ไปจดกับสันเขาแก้วใหญ่ ที่บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 340490 เป็นจุดสิ้นสุดรวมระยะทางประมาณ 22.5 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านท่าตาเสือ หมู่ที่ 6 ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยแนวเขตเริ่มต้นจากสันเขาแก้วใหญ่ บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 340490 ตามสันเขาแก้วใหญ่ไปทางทิศเหนือจดสันเขาแก้วน้อยที่บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 349520 จากสันเขาแก้วน้อยตัดผ่านไร่ไปจดห้วยน้ำโจนที่บริเวณเชิงเขาพุกระพี้ พิกัด เอ็น อาร์ 348538 ตามลำห้วยน้ำโจน ไปทางทิศเหนือข้ามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 สายกาญจนบุรี-ทองผาภูมิ ไปจดกับแม่น้ำแควใหญ่ทางทิศเหนือของบ้านจันอุย หมู่ที่ 5 ตำบลลาดหญ้า บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 418594 ตามลำแม่น้ำแควใหญ่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงบริเวณลำตะเพินจดกับแม่น้ำแควใหญ่ ที่บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 432600 แล้วตามลำตะเพินขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงสะพานข้ามลำตะเพินบนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3199 สายลาดหญ้า-น้ำตกเอราวัณ บริเวณพิกัด เอ็น อาร์ 417627 เป็นจุดสิ้นสุด รวมระยะทางประมาณ 17.5 กิโลเมตร เนื้อที่ เขตการปกครองท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้ามีพื้นที่ประมาณ 114 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 71,512 ไร่ ภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ มีภูเขาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 บริเวณ คือ เขาชนไก่ และเขาแก้วน้อย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำแควใหญ่ไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ในแนวทิศเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ฝั่งแม่น้ำ คือ หมู่ที่ 1,2,3 และหมู่ที่ 6 อยู่ฝั่งทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ หมู่ที่ 4,5 และหมู่ที่ 7 อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำ สำหรับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในด้านการเกษตรกรรมประเภท พืชไร่ พืชสวน นาข้าว และเลี้ยงสัตว์ มีชุมชนอยู่อาศัยกระจายอยู่ทั่วไปและจะอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ส่วนการใช้พื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม จะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งเป็นรีสอร์ท บริเวณที่ราบจะเป็นสนามกอล์ฟ และอาคารพาณิชย์ต่างๆ จะอยู่ริมถนนสายกาญจนบุรี-น้ำตกเอราวัณ ถนนสายกาญจนบุรี-บ้านเก่า และถนนสายหลักในหมู่บ้าน
|
การเมืองการปกครอง สภาตำบลลาดหญ้าได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รายชื่อสภาตำบลที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยที่มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 ที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ.2537) เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ซึ่งจะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงประกาศให้สภาตำบลลาดหญ้า ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 เขตการปกครองท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้ามีพื้นที่ประมาณ 114 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 71,512 ไร่ มีจำนวนหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า หมู่ที่ 2 บ้านท่าเสา หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก - จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน 5 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 3,4,5,6 และ 7 - จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. บางส่วน 2 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 1 และ 2 |
สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ รองลงมา ได้แก่ เกษตรกรรม อาชีพรับจ้าง และอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ ข้าราชการ พนักงานของรัฐฯลฯ
หน่วยธุรกิจในเขต อบต. 1. ธนาคาร - แห่ง 2. โรงแรมและสนามกอล์ฟ 5 แห่ง ได้แก่ 2.1 บ้านพูนทรัพย์รีสอร์ท ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 2.2 เพชรไพลินรีสอร์ท ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 2.3 บริษัทบิลเลี่ยนสตาร์ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 2.4 บริษัทไมด้ากอล์ฟคลับ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 2.5 ภูฟ้าสวยรีสอร์ท ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 3. ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 4. โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง ได้แก่ 4.1 บริษัทเขมราชการสร้างจำกัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 5. ฟาร์มไก่ 3 แห่ง ได้แก่ 5.1 บริษัทซีพี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 6. ฟาร์มหมู 1 แห่ง ได้แก่ 6.1 ฟาร์มหมู นายฉุกเฉียว เฉลิมประเวศวงศ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 7. ฟาร์มปลา - แห่ง 8. อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา 1 แห่ง ได้แก่ 8.1 บริษัทซีแอนพีศิลาดล จำกัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า 9. โรงสีขนาดเล็ก 2 แห่ง ได้แก่ 9.1 โรงสีข้าวชุมชนตำบลลาดหญ้า ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 9.2 โรงสีข้าวของนายสมนึก พิสูตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 10. สหกรณ์ - แห่ง 11. เลี้ยงปลาในกระชัง - แห่ง 12. ฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์ - แห่ง 13. ตลาดนัด 1 แห่ง ได้แก่ 13.1 ตลาดนัดบริเวณข้างศูนย์เครือค่ายกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี
มวลชนจัดตั้ง- กลุ่มสตรีประจำตำบล จำนวน 199 คน - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 200 คน |
สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การศึกษา 1. โรงเรียนอนุบาล - แห่ง 2. โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ 2.1 โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก "เพ็ญชาติอุปถัมภ์" ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก 2.2 โรงเรียนบ้านท่าหวี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 2.3 โรงเรียนบ้านจันอุย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 2.4 โรงเรียนบ้านหนองแก "สามัคคีวิทยา" ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 3. โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่ 3.1 โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ได้แก่ 4.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า 4.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเย็นสนิท ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 5. ห้องสมุดประชาชน - แห่ง 6. ศูนย์การศึกษาชุมชน - แห่ง 7. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน - แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา 1. วัด 6 แห่ง ได้แก่ 1.1 วัดเขารักษ์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า 1.2 วัดป่าเลไลก์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านท่าเสา 1.3 วัดราษฎร์วราราม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก 1.4 วัดวังกุ่ม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก 1.5 วัดเย็นสนิทธรรมาราม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 1.6 วัดเขามีแก้วน้อย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 2. สำนักสงฆ์ 5 แห่ง ได้แก่ 2.1 สำนักสงฆ์ปฏิสังขรพระพุทธรูปใหม่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก 2.2 สำนักสงฆ์ถ้ำเทวฤทธิ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 2.3 สำนักสงฆ์พุโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 2.4 สำนักสงฆ์พุใหญ่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 2.5 สำนักสงฆ์หนองแก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 3. ศาลเจ้าพ่อ 1 แห่ง ได้แก่ 3.1 ศาลเจ้าพ่อเขาชนไก่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า 4. มัสยิด - แห่ง 5. โบสถ์ - แห่ง |
การบริการพื้นที่และทรัพยากรณ์ธรรมชาติ สาธารณสุข 1. โรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่ 1.1 โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า 2. สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง 3. สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 2 แห่ง ได้แก่ 2.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดหญ้า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า 2.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก 4. ร้านค้ายาแผนปัจจุบัน - แห่ง 5. อัตราการมี และใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 6. สถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ 6.1 สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี หลวงพ่อลำไยอุปถัมภ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถานีตำรวจ - แห่ง สถานีดับเพลิง - แห่ง
การคมนาคม การคมนาคมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า มีเส้นทางสายหลักผ่าน 2 สาย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 723 (กาญจนบุรี-น้ำตกเอราวัณ) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 703 (ลาดหญ้า-ด้านช่าง) นอกจากนี้มีถนนสายรองอีกคือ สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 723 ไปทางแยกทางหลวงแผ่นดินสายกาญจนบุรี-ทองผาภูมิ
การโทรคมนาคม 1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง ได้แก่ 1.1 ที่ทำการไปรษณีย์ตำบลลาดหญ้า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้า 2. หอกระจายข่าว 5 แห่ง ได้แก่ 1.1 หอกระจายข่าวบ้านทุ่งนานางหรอก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก 1.2 หอกระจายข่าวบ้านท่าหวี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี 1.3 หอกระจายข่าวบ้านจันอุย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย 1.4 หอกระจายข่าวบ้านท่าหว้า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า 1.5 หอกระจายข่าวบ้านหนองแก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก
การไฟฟ้า ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า มีไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 7 หมู่บ้าน
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้ามีทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม คือ บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำแควใหญ่จึงทำให้เกิดการก่อสร้างรีสอร์ทที่พัก และร้านอาหารและบริเวณที่ราบเชิงเขามีการก่อสร้างสนามกอล์ฟ รีสอร์ท และที่พัก แหล่งน้ำธรรมชาติ 1. แม่น้ำ จำนวน 1 สาย ได้แก่ 1.1 แม่น้ำแควใหญ่ ไหลผ่านหมู่ที่ 1,หมู่ที่2 ,หมู่ที่ 4 ,หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 2. ลำน้ำ, ลำห้วย จำนวน 4 สาย ได้แก่ 2.1 ลำห้วยลำตะเพิน ไหลผ่านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 2.2 ลำห้วยพุเลียบ ไหลผ่านหมู่ที่ 4 2.3 ลำห้วยน้ำโจน ไหลผ่านหมู่ที่ 5 2.4 ลำห้วยพุขาม ไหลผ่านหมู่ที่ 6 3. บึงหนองอื่นๆ จำนวน - สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ 1. ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 36 แห่ง ใช้การได้ 35 แห่ง ชำรุด 1 แห่ง ได้แก่ 1.1 ถังเก็บน้ำฝน หมู่ที่ 2 บ้านท่าเสา จำนวน 5 ลูก 1.2 ถังเก็บน้ำฝน หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก จำนวน 9 ลูก 1.3 ถังเก็บน้ำฝน หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า จำนวน 11 ลูก 1.4 ถังเก็บน้ำฝน หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก จำนวน 11 ลูก (ชำรุด จำนวน 1 ลูก) 2. บ่อโยก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 2.1 บ่อโยกบ้านโป่งกระต่าย 1 บ่อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านโป่งกระต่าย 2.2 บ่อโยกบ้านท่าหว้า 3 บ่อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า (ชำรุด 1 บ่อ) 3. หอถังประปา จำนวน 15 แห่ง ใช้การได้ 14 แห่ง ชำรุด 1 แห่ง 4. ประปาหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ 4.1 ประปาหมู่บ้านทหารพราน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านท่าเสา มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 30 ครัวเรือน 4.2 ประปาหมู่บ้านวังกุ่ม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 31 ครัวเรือน 4.3 ประปาหมู่บ้านทุ่งนานางหรอก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนานางหรอก มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 276 ครัวเรือน 4.4 ประปาหมู่บ้านท่าหวี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าหวี มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 454 ครัวเรือน 4.5 ประปาหมู่บ้านจันอุย(บ้านบน) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 93 ครัวเรือน 4.6 ประปาโรงเรียนบ้านจันอุย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านจันอุย มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 70 ครัวเรือน 4.7 ประปาหมู่บ้านบ้านโป่งกระต่าย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 116 ครัวเรือน 4.8 ประปาหมู่บ้านท่าหว้า ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 51 ครัวเรือน 4.9 ประปาหมู่บ้านท่าหว้า (นายสุรสิทธิ์ ชินณะ เป็นประธานฯ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าหว้า มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 19 ครัวเรือน 4.10 ประปาหมู่บ้านหนองแก (ผู้ใหญ่เชาว์ จำปาคำ เป็นประธานฯ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 220 ครัวเรือน 4.11 ประปาหมู่บ้านหนองแก (นายบุญเสริม เจียมเจิม เป็นประธานฯ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 7 ครัวเรือน ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2554 |