หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  (Authority)

                ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง  (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ตามราย ละเอียดดังต่อไปนี้

                1. หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 67 ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้

1.1  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

1.2  รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ และทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

1.3  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

1.4  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

1.5  ส่งเสริมการศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

1.6  ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

1.7  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.8  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

1.9  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

2.  อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 68 ซึ่งมีหน้าที่อาจจัดทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้

2.1  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

2.2  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

2.3  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

2.4  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

2.5  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรและกิจการสหกรณ์

2.6  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

2.7  บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

2.8  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

2.9  หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

2.10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

2.11 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

2.12 การท่องเที่ยว

2.13 การผังเมือง

           3. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดที่ 2 มาตรา 16 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของ ประชาชน ใท้องถิ่นตนเอง ดังนี้

 3.1  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

3.2  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

3.3  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ

3.4  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

3.5  การสาธารณูปการ

3.6  การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

3.7  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

3.8  การส่งเสริมการท่องเที่ยว

3.9  การจัดการศึกษา

3.10 การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

3.11 การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

3.12 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

3.13 การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

3.14 การส่งเสริมกีฬา

3.15 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

3.16 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

3.17 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

3.18 การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

3.19 การสาธารณะสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

 3.20 การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

3.21 การควบคุมสัตว์เลี้ยง

3.22 การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

3.23 การรักษาความปลอดภัย

3.24 การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่า

3.25 การผังเมือง

3.26 การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

3.27 การดูแลรักษาที่สาธารณะ 3.28 การควบคุมอาคาร

3.29 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3.30 การรักษาความสงบเรียบร้อย

3.31 กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

            4. อำนาจหน้าที่และพันธกิจที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล

4.1 แก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม

4.2 ต้องพัฒนาทุนทางสังคมมีความแข็งแรงและยั่งยืน

4.3 ต้องเพิ่มสมรรถนะให้ประเทศไทย พร้อมสำหรับการแข่งขัน

4.4 การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

          มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการสารบรรณการจัดทำแผนพัฒนาตำบล  การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การประชุมสภา อบต. งานประชุมคณะกรรมการบริหาร การจัดทำทะเบียนคณะผู้บริหาร  สมาชิกอบต. การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจ การให้คำปรึกษางานในหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครอง บังคับบัญชา  พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต.ทั้งหมด    การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

        1. งานบริหารทั่วไป

        2. งานนโยบายและแผน

        3. งานกฎหมายและคดี

        4. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

        5. งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

        6. งานกิจการสภา

        7. งานการเลือกตั้ง

        8. งานกฎหมายและคดี

กองคลัง   

          มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ-จ่ายเงินทุกประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน  การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน  การนำส่งเงิน  การฝากเงิน  การตรวจเงิน อบต.  รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆ  การเบิกตัดปี  การขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณ  การหักภาษีและนำส่งเงินคงเหลือประจำวัน    การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต.  การยืมเงินทดรองราชการ  การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินของอบต. ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินในการเร่งรัดใบสำคัญและเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บ ภาษี  การประเมินภาษี  การเร่งรัดจัดเก็บรายได้  การพัฒนารายได้  การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียม  ต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง   

        1. งานการเงิน

        2. งานบัญชี

        3. งานพัฒนาจัดเก็บรายได้

        4. งานทะเบียนทรัพย์สิน และพัสดุ

กองช่าง

          มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของอบต.การอนุมัติ เพื่อ ดำเนินการตามโครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของอบต. งานบำรุงซ่อม และจัดทำทะเบียน สิ่งก่อสร้าง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.การให้คำแนะนำปรึกษา เกี่ยวกับการจัดทำโครงการ และการออกแบบ ก่อสร้าง  แก่อบต. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง   งานควบคุมอาคาร การดูแล ควบคุม ปรึกษา ซ่อมแซม วัสดุครุภัณฑ์   และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

        1. งานก่อสร้าง

        2. งานออกแบบและควบคุมอาคาร

        3. งานประเภทสาธารณูปโภค ต่าง ๆ

        4. งานสำรวจ

กองสวัสดิการสังคม

          มีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนโดยมีหน้าที่เกี่ยวกับงานงานสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาชุมชน การจัดบริการสวัสดิการสังคม ซึ่งเกี่ยวกับการป้องกันการแก้ไขปัญหาการพัฒนาและการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึงเหมาะสมและเป็นธรรม 

1. งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน

2. งานสังคมสงเคราะห์ 

3. งานส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสตรี